1 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าลักษณะรูปร่างกระบือเมื่อวัดด้วยไม้บรรทัดและสายวัดเปรียบเทียบกับเครื่องสแกน สามมิติ
2 ความสัมพันธ์ของลักษณะรูปร่างกระบือตามกลุ่มอายุ
3 ความสัมพันธ์ระหว่างการให้คะแนนของนักวิชาการและปราชญ์
4 การทำนายคะแนนความสวยงามของกระบือด้วยลักษณะปรากฏที่วัดเป็นค่าเมตริก
5 ค่าต่าง ๆ ที่ได้จากกระบือสวยที่มีคะแนนมากกว่า 80%
6 การทำนายน้ำหนักจากค่าวัดของลักษณะรูปร่างที่ตำแหน่งต่าง ๆ



1 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าลักษณะรูปร่างกระบือเมื่อวัดด้วยไม้บรรทัดและสายวัดเปรียบเทียบกับเครื่องสแกน สามมิติ

ทำการศึกษาเปรียบเทียบ ในกระบือ 19 ตัว ที่จังหวัดสุรินทร์ ค่าความสัมพันธ์แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์ของค่าลักษณะรูปร่างโดยการวัด และโดย เครื่อง Scan 3 มิติ

จากตารางที่ 1 พบว่า ค่าลักษณะรูปร่างที่ได้โดยการวัดมีความสัมพันธ์กับค่าที่ประเมินโดยเครื่อง scan จำนวน 17 ลักษณะ (p<0.01) ยกเว้นลักษณะความกว้างของฐานเขา (O)

2 ความสัมพันธ์ของลักษณะรูปร่างกระบือตามกลุ่มอายุ

การศึกษาแบ่งกระบือเพศผู้และเพศเมีย เป็น 4 กลุ่มอายุ คือ

กลุ่มที่ 1   อายุ 1-2 ปี

กลุ่มที่ 2   อายุ 2-4 ปี

กลุ่มที่ 3   อายุ 4 -8 ปี

กลุ่มที่ 4   อายุ > 8 ปี

จากการศึกษาพบว่าในกระบือเพศผู้มีค่าวัดของลักษณะต่าง ๆสูงขึ้นตามอายุ ที่เพิ่มขึ้น (ตารางที่ 2, ภาพที่ 1) โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยความสูง (A) ของกลุ่มที่ 2 สูงกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 2 3 และ 4 ต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าลักษณะความสูงเริ่มคงที่เมื่อกระบือเพศผู้มีอายุ 4 ปี เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยความกว้างของบั้นท้าย (E) ในกระบือกลุ่มที่ 2 สูงกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ในกลุ่มอายุที่ 2 3 และ 4 พบว่าค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ลักษณะความกว้างของบั้นท้ายจึงเป็นไปในทำนองเดียวกับความสูงคือกระบือที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปมีความกว้างของบั้นท้ายค่อนข้างคงที่ ต่างจากค่าเฉลี่ยของเส้นรอบ อก (B) และความกว้างของสะโพก (D) ซึ่งมีค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในกลุ่มที่ 1 ถึง 4 (p<0.05) แสดงให้เห็นว่าลักษณะทั้งสองมีการเพิ่มขนาดตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำนองเดียวกับค่าเฉลี่ยความยาวตั้งแต่ไหล่ถึงสะโพกด้านซ้ายและขวา (F และ G), ค่าเฉลี่ยความยาวจากปุ่มสะโพกถึงก้นกบด้านซ้ายและขวา (H และI) และค่าเฉลี่ยความยาวระหว่างปุ่มกระดูกไหล่จนถึงปุ่มกระดูกสะโพก (J1 และ J2) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มอายุที่ 1 ถึง 4 (p<0.05) ค่าเฉลี่ยความยาวของหาง (K) เพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุที่ 1ถึง 4 แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงเข่า (L) มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจนถึงอายุมากกว่า 8 ปี เมื่อพิจารณาลักษณะเขาพบว่าความกว้างปลายเขา (M) และความกว้างฐานเขา (O) แม้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อกระบือมีอายุมากขึ้น แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยในทุกกลุ่มอายุ ขณะที่ค่าเฉลี่ยความกว้างของกลางเขา (N) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน 4 กลุ่มอายุ เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงของเขาซึ่งเพิ่มขึ้นตามกลุ่มอายุ โดยพบว่าค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกกลุ่มอายุ ค่าเฉลี่ยความยาวจากเขาถึงมุมกระหม่อม (Q) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มอายุ 1-2 ปี 2-4 ปี และมากกว่า 8 ปี (กลุ่มที่ 1 2 และ 4)

ตารางที่ 2 แสดง ค่าเฉลี่ย และ ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าวัดลักษณะรูปร่างในกระบือเพศผู้ตามกลุ่มอายุ

แสดงค่าเป็น Mean + SEM, ค่าในวงเล็บ คือ จำนวนกระบือ, ค่าที่อยู่ใน superscript ที่ต่างกันแสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

ในกระบือเพศเมีย (ตารางที่ 3 และภาพที่ 2) ค่าเฉลี่ยความสูง (A) แม้จะมีแนวโน้มคงที่เมื่อกระบือมีอายุ 4 ปีขึ้นไปเช่นเดียวกับเพศผู้ แต่ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความสูงแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่มอายุความสูง (A) ค่าเฉลี่ยเส้นรอบอก (B) มีค่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุที่ 1 2 และ 3 โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างจากกลุ่มที่ 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 3 และ 4 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่ากระบือเพศเมียมีขนาดโตเต็มที่เมื่ออายุ 4-8 ปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยช่วงไหล่ (C) ค่าเฉลี่ยความกว้างของสะโพก(D) เพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุ 2-4 ปี และมีแนวโน้มคงที่เมื่ออายุมากขึ้น เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยความกว้างของบั้นท้าย (E) ค่าเฉลี่ยความยาวจากไหล่ถึงสะโพกซ้ายและขวา (F และ G) และค่าเฉลี่ยความยาวจากไหล่ถึงปุ่มกระดูกสะโพกซ้ายและขวา (J1 และ J2) แต่ค่าเฉลี่ยความกว้างปุ่มสะโพกซ้ายและขวา (H และI) ต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่มอายุ ค่าเฉลี่ยความยาวหาง(K) และเส้นรอบวงเข่า(L) ในกลุ่มอายุที่ต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการศึกษาลักษณะเขาในกระบือเพศเมียพบว่าค่าเฉลี่ยความกว้างปลายเขา(M) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มอายุ 4-8 ปีเมื่อเทียบกับกระบือกลุ่มอายุ 1-2 ปี ค่าเฉลี่ยความกว้างของฐานเขา (O) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่มอายุ เช่นเดียวกับในกระบือเพศผู้ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยความกว้างกลางเขา (N) ค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงเขา (P) และค่าเฉลี่ยความยาวจากเขาถึงมุมกระหม่อม (Q) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในกลุ่มที่ 1 2 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ตารางที่ 3 แสดง ค่าเฉลี่ย และ ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ของค่าวัดลักษณะรูปร่างในกระบือเพศเมียตามกลุ่มอายุ







ผลการศึกษาข้อมูลในกลุ่มกระบือที่ตั้งท้อง (ตารางที่ 4) โดยแบ่งกลุ่มตั้งท้องเป็นกลุ่มท้องอ่อน มีอายุการตั้งท้อง 1-4 เดือน กลุ่มกระบือท้องแก่ มีอายุการตั้งท้อง 4-8 เดือน และกลุ่มกระบือเพศเมียไม่ตั้งท้อง เป็นกลุ่มควบคุม จากการศึกษาไม่พบความแตกต่างของจุดวัดใด ๆ ยกเว้นเส้นรอบอกด้านหน้า ซึ่งกระบือท้องมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นโดยกระบือท้องแก่มีค่าสูงกว่ากระบือเพศเมียไม่ท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อย่างไรก็ตามกลุ่มกระบือท้องแก่เป็นกระบือที่โตเต็มวัยเนื่องจากมีอายุเฉลี่ย (5.88 ปี) สูงกว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มกระบือท้องอ่อน (5.65 และ 2.38 ปี)

ตารางที่ 4 แสดง ค่าเฉลี่ย และ ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าวัดลักษณะต่างๆ ในกระบือแม่พันธุ์ตั้งท้อง

3 ความสัมพันธ์ระหว่างการให้คะแนนของนักวิชาการและปราชญ์

จากตารางที่ 5 พบว่าการให้คะแนนลักษณะย่อยทั้ง 6 ลักษณะคือ ลักษณะทั่วไป หัวและคอ ส่วนหน้า ส่วนลำตัว ส่วน ท้าย อวัยวะสืบพันธุ์ และการให้คะแนนรวมทั้งหมดในกระบือเพศผู้ ของนักวิชาการและปราชญ์ มีความสอดคล้องกันโดยพบว่าการให้คะแนนมีค่าสหสัมพันธ์ (r) ระดับปานกลาง ถึงสูง โดยเฉพาะค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะคะแนนรวมมีค่าสหสัมพันธ์ (0.68) สูงกว่าสหสัมพันธ์ของการให้คะแนนลักษณะย่อย (0.47- 0.66) (ภาพที่ 3 และ 4)

ตารางที่ 5 แสดงความสัมพันธ์ของการให้คะแนนระหว่างนักวิชาการและปราชญ์ในกระบือเพศผู้

ความสัมพันธ์ของการให้คะแนนลักษณะรูปร่างในกระบือเพศเมีย (ตารางที่ 6, ภาพที่ 5 และ 6) โดยทั้งนักวิชาการและปราชญ์นั้นแม้พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0. 01) ในทุกลักษณะ ยกเว้น ลักษณะอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ค่าสหสัมพันธ์ที่ได้จากการศึกษา ( r ) มีค่าค่อนข้างต่ำ ถึงปานกลาง (0.37 – 0.56)

ตารางที่ 6 แสดงความสัมพันธ์ของการให้คะแนนระหว่างนักวิชาการและปราชญ์ในเพศเมีย

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้คะแนนระหว่างนักวิชาการและปราชญ์ ในกระบือเพศเมียตั้งท้อง พบว่าค่าสหสัมพันธ์ของทุกลักษณะย่อยมีระดับปาน (0.46-0.56) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ของการให้คะแนนของนักวิชาการและปราชญ์ในลักษณะส่วนหัวและคอ (p>0.05)

ตารางที่ 7 แสดงความสัมพันธ์ของการให้คะแนนของนักวิชาการและปราชญ์ในเพศเมียตั้งท้อง

โดยภาพรวมของการให้คะแนนกระบือทั้งหมดที่เป็นกระบือเพศผู้และเพศเมีย รวมทั้งกระบือตั้งท้อง สรุปได้ว่านักวิชาการและปราชญ์ให้คะแนนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นคะแนนลักษณะย่อยหรือ คะแนนรวมทุกลักษณะ

4 การทำนายคะแนนความสวยงามของกระบือด้วยลักษณะปรากฏที่วัดเป็นค่าเมตริก

ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งประเภทกระบือตามเพศและอายุ โดยอ้างอิงจากการแบ่งประเภท การประกวดกระบือของกรมปศุสัตว์ ดังนี้

เพศผู้ กระบือรุ่นเล็ก คือ อายุ น้อยกว่า 4 ปี กระบือรุ่นใหญ่อายุ 4 ปีขึ้นไป

เพศเมีย กระบือรุ่นเล็ก คือ อายุ น้อยกว่า 3 ปี กระบือรุ่นใหญ่อายุ 3 ปีขึ้นไป

ซึ่งการแบ่งรุ่นกระบือดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าวัดของลักษณะรูปร่างกับอายุกระบือที่พบว่า ลักษณะที่ปราชญ์และนักวิชาการให้น้ำหนักมากในการให้คะแนน ทั้งในกระบือเพศผู้และเพศเมีย ได้แก่ ค่าที่วัดจากลักษณะส่วนหน้า (ความสูง รอบอก) ความยาวลำตัว และส่วนท้าย (ความยาวบั้นท้าย) จะชลอการเจริญเติบโตเมื่ออายุประมาณ 3-4 ปีทั้งเพศผู้และเพศเมีย

การศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของค่าวัดของลักษณะต่างๆ เพื่อทำนายคะแนนที่ได้รับจากการประเมินด้วยนักวิชาการและปราชญ์ พบว่า สมการจะมีค่าความเชื่อมั่นสูงสุด (0.46) เมื่อประกอบด้วยลักษณะเส้นรอบวงเข่า (L) และมีค่าความเชื่อมั่นสูงขึ้น (0.47- 0.57) เมื่อสมการประกอบด้วยสองตัวแปร แต่การเพิ่มตัวแปรเป็นสามหรือสี่ตัวแปร ค่าความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (0.65-0.67) ดังแสดงในตารางที่ 8 และพบว่าลักษณะเส้นรอบวงเข่า เป็นตัวแปรที่ปรากฏอยู่ในสมการเกือบทุกสมการ

ตารางที่ 8 ตัวแปรทำนายคะแนนความสวยงามในกระบือเพศผู้อายุน้อยกว่า 4 ปี

ในกระบือเพศผู้อายุมากกว่า 4 ปี เมื่อพิจารณาตัวแปรเดี่ยว สมการจะมีค่าความเชื่อมั่นสูงสุด (0.70) เมื่อประกอบด้วยลักษณะเส้นรอบอก (B) ค่าความเชื่อมั่นสูงขึ้น (0.73- 0.85) เมื่อสมการประกอบด้วยสองตัวแปร และเมื่อเพิ่มเป็นสมการสี่ตัวแปรจะทำให้ความเชื่อมั่นในการทำนายคะแนนสูงถึง 0.92 ดังแสดงในตารางที่ 9

ในกระบือเพศเมียที่อายุน้อยกว่า 3 ปี พบว่าค่าความเชื่อมั่นต่ำมากแม้เลือกพิจารณาสมการที่ประกอบด้วยตัวแปรสี่ตัวก็ตาม ตัวแปรที่ปรากฎเป็นองค์ประกอบในเกือบทุกสมการคือ ค่าความกว้างฐานเขา (O) ซึ่งจากการศึกษาและรายงานไว้ในข้างต้นพบว่าเป็นลักษณะที่ให้ค่าไม่แม่นยำเมื่อประเมินค่าเมตริกด้วยเครื่องแสกนสามมิติ (ตารางที่ 10)

ตารางที่ 9 ตัวแปรทำนายคะแนนความสวยงามในกระบือเพศผู้อายุมากกว่า 4 ปี

ตารางที่ 10 ตัวแปรทำนายคะแนนความสวยงามในกระบือเพศเมียอายุน้อยกว่า 3 ปี

ในกระบือเพศเมียที่มีอายุมากกว่า 3 ปีพบว่า เมื่อพิจารณาตัวแปรเดี่ยว สมการจะมีค่าความเชื่อมั่นสูงสุด (0.66) เมื่อประกอบด้วยลักษณะความกว้างสะโพก (D) ค่าความเชื่อมั่นสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเพิ่มตัวแปรเป็น สองสาม และ สี่ตัวแปร (0.71 0.72และ 0.75 ตามลำดับ) ดังแสดงในตารางที่ 11

ตารางที่ 11 ตัวแปรทำนายคะแนนความสวยงามในกระบือเพศเมียอายุมากกว่า 3 ปี

5 ค่าต่าง ๆ ที่ได้จากกระบือสวยที่มีคะแนนมากกว่า 80%
กระบือสวย คือกระบือที่ได้คะแนนรวมจากปราชญ์และนักวิชาการรวมกันแล้ว มากกว่า 80 คะแนน มีจำนวนกระบือทั้งสิ้น 25 ตัว โดยเป็นตังผู้พ่อพันธุ์ 16 ตัว และเป็นแม่พันธุ์ 9 ตัว โดยอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ 6 ตัว อุทัยธานี 14 ตัว กรุงเทพมหานคร 3 ตัว และ นครพนม 2 ตัว โดยอายุอยู่ระหว่าง 1-15 ปี 5 เดือน กระบือดังกล่าวมี ชื่อ และรายละเอียด ดังตารางที่ 12

ตารางที่ 12 แสดงรายละเอียดที่วัดได้จากกระบือที่เป็น top breeder

ค่าทางสถิติที่ได้จากการวัดของกระบือทั้งหมดที่เป็น Top breeder เมื่อแบ่งกระบือทั้งหมดตามเพศและอายุ คือ กระบือเพศผู้อายุ < 4 ปี, > 4 ปี และกระบือเพศเมียอายุ < 3 ปี และ > 3 ปี ที่เป็น top breeder (คะแนน > 80%) และชนะการประกวดแสดง ดังตารางที่ 13, 14, 15, 16 และ 17 ตามลำดับ

ตารางที่ 13 แสดงค่าทางสถิติของกระบือทั้งหมดที่เป็น top breeder

ตารางที่ 14 แสดงค่าทางสถิติของกระบือเพศผู้อายุน้อยกว่า 4 ปีที่เป็น top breeder

ตารางที่ 15 แสดงค่าทางสถิติของกระบือเพศผู้อายุมากกว่า 4 ปีที่เป็น top breeder

ตารางที่ 16 แสดงค่าทางสถิติของกระบือเพศเมียอายุน้อยกว่า 3 ปีที่เป็น top breeder

ตารางที่ 17 แสดงค่าทางสถิติของกระบือเพศเมียอายุมากกว่า 3 ปีที่เป็น top breeder

6 การทำนายน้ำหนักจากค่าวัดของลักษณะรูปร่างที่ตำแหน่งต่าง ๆ

ค่าวัดของลักษณะรูปร่างสามารถนำมาใช้ในการทำนายน้ำหนักกระบือ โดยศึกษาสมการสองรูปแบบคือ สมการแบบ Linear และแบบ Polynomial ในกระบือกลุ่มคละเพศ เพศผู้ และเพศเมีย

6.1 สมการทำนายน้ำหนักแบบเส้นตรง (Linear Model)

6.1.1 สมการทำนายน้ำหนักในกลุ่มกระบือคละเพศ

ในการศึกษาข้อมูลจากตารางที่ 18 ในกลุ่มกระบือคละเพศพบว่า ค่าความยาวลำตัว (ค่าวัดจากกระดูกไหล่ถึงกระดูกสะโพก, FG) เมื่อนำมาใช้ในการทำนายน้ำหนักกระบือแบบไม่แยกเพศ มีค่าความแม่นยำ 0.68 ใกล้เคียงกับการใช้ค่าเส้นรอบอก (B) และ ความกว้างสะโพก (D) จึงสามารถเลือกใช้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งได้ตามความสะดวกในการเก็บข้อมูล เมื่อเพิ่มลักษณะเพื่อการทำนายเป็น สอง สาม และสี่ลักษณะพบว่าค่าความเชื่อมั่นสูงขึ้นเป็น 0.76 0.77 และ0.77 ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากกัน จึงแนะนำให้เลือกใช้สมการสองลักษณะเพื่อลดความยุ่งยากในการปฏิบัติงานจริง

ตารางที่ 18 ตัวแปรทำนายน้ำหนักในกลุ่มกระบือคละเพศ

6.1.2 สมการทำนายน้ำหนักในกระบือเพศผู้

ในกระบือเพศผู้ พบว่าเส้นรอบอก (B) ลักษณะเดียวสามารถใช้ในการทำนายน้ำหนักตัว โดยให้ค่าความเชื่อมั่นสูงถึง 0.78 เมื่อเพิ่มลักษณะ ความกว้างสะโพก ความกว้างไหล่ หรือความยาวลำตัว ลักษณะใดลักษณะหนึ่งค่าความเชื่อมั่นจะเพิ่มสูงถึง 0.81 แต่เมื่อเพิ่มตัวแปรลักษณะอื่นเป็น สาม หรือ สี่ลักษณะในสมการพบว่าค่าความเชื่อมั่นไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกใช้สมการสองตัวแปรในการทำนายน้ำหนักกระบือเพศผู้ (ตารางที่ 19)

ตารางที่ 19 ตัวแปรทำนายน้ำหนักในกลุ่มกระบือเพศผู้

6.1.3 สมการทำนายน้ำหนักในกระบือเพศเมีย

ในกระบือเพศเมีย สมการทำนายที่ใช้ตัวแปรเดี่ยวพบว่าลักษณะความกว้างของกระดูกก้นกบ (E) ซึ่งเป็นลักษณะส่วนท้ายของลำตัว ให้ค่าความเชื่อมั่นสูงถึง 0.78 ต่างจากกระบือเพศผู้ซึ่งลักษณะเส้นรอบอก ซึ่งเป็นลักษณะส่วนหน้าให้ค่าความแม่นยำมากที่สุด

ตารางที่ 20 สมการทำนายน้ำหนักในกระบือเพศเมีย

และเมื่อพิจารณาสมการสอง สาม และสี่ตัวแปรพบว่าค่าความเชื่อมั่นสูงขึ้น มีค่า 0.86 0.87 และ 0.89 แต่ยังคงประกอบด้วยลักษณะความกว้างของก้นกบ (E) ในทุกแบบของสมการ (ตารางที่ 20)

4.6.2 สมการทำนายน้ำหนักแบบไม่เป็นเส้นตรง (Polynomial model)

ในการศึกษาการทำนายน้ำหนักกระบือโดยสมการแบบ Polynomial ใช้ตัวแปรเดี่ยวดังตารางที่ 21 พบว่าได้ผลใกล้เคียงกับการศึกษาการทำนายน้ำหนักแบบเส้นตรง คือ ลักษณะเดี่ยวที่ให้ค่าความเชื่อมั่นสูงในการทำนายน้ำหนัก ได้แก่ เส้นรอบอก (B) และความกว้างสะโพก (D) ในกลุ่มกระบือคละเพศ ลักษณะเส้นรอบอก (B) ในกระบือเพศผู้ และลักษณะความกว้างของกระดูกก้นกบ (E) ในกระบือเพศเมีย

ตารางที่ 21 สมการทำนายน้ำหนักแบบไม่เป็นเส้นตรง

6.2.1 สมการทำนายน้ำหนักแบบ polynomial ในกระบือคละเพศ

Polynomial Regression weight = 16533.46 + (251.761*B)-(1.269*B 2) + (0.00217 * B3)

ค่าความเชื่อมั่น 0.75

6.2.2 สมการทำนายน้ำหนักแบบ polynomial ในกระบือเพศผู้

Polynomial Regression weight = 6640.49 + (103.146* B)-(0.534*B 2) + (0.000976 * B3)

ค่าความเชื่อมั่น 0.82

6.2.3 สมการทำนายน้ำหนักแบบ polynomial ในกระบือเพศเมีย

Polynomial Regression weight = 12208.252 – (728.582* E) + (1587*E 2) – (0.0938 * E3)

ค่าความเชื่อมั่น 0.81

เมื่อพิจารณาค่าความเชื่อมั่นพบว่าสมการทำนายน้ำหนักโดยใช้ตัวแปรเดี่ยวแบบ Polynomial ในกระบือทั้งสามกลุ่ม (คละเพศ เพศผู้ และเพศเมีย) มีค่าสูงกว่าความเชื่อมั่นที่ได้จากการทำนายน้ำหนักโดยใช้ตัวแปรเดี่ยวแบบสมการเส้นตรง (0.75, 0.82, 0.81 vs. 0.68, 0.78, 0.78)