ค้นหา
เมนูหลัก :
รายการ ๑ ในพระราชดำริ
ตอน ควายไทย มรดกไทย ๑ รายการ ๑ ในพระราชดำริ
ตอน ควายไทย มรดกไทย ๒

PostHeaderIcon ควายงาม

    “ ควาย ” หรือ “ กระบือ ” หรือ “ buffaloes ” เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่บนโลกนี้มาไม่น้อยกว่า 150 ล้านปี เริ่มจากการเป็นควายป่าที่ดุร้าย แล้วค่อยๆ กลายมาเป็นควายใจดีที่แสนเชื่อง และถูกคนนำมาชุบเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน มีบทบาทสำคัญต่อเกษตรกร จนกลายเป็น “ทหารเอก” ของชาวไร่ชาวนาในยุคสมัยที่เกษตรกรรมเฟื่องฟู ปรากฏหลักฐานว่ามีการนำควายมาเลี้ยงในตราประทับเมื่อราวๆ 3,000 ปี ก่อน ที่ Mohenjo Daro ใน Irag ควายเลี้ยงรู้จักกันในประเทศจีนในราว 2,000 ปี ก่อนพุทธศักราช และทางเหนือของประเทศอินเดียบริเวณหุบเขาอินดัส พบร่องรอยการเลี้ยงควายมาไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี คนจีนเรียกควายว่า “ สุ่ยหนิว ” คนมาเลเซียเรียก “ เกอร์เบา ” และในภาษาฟิลิปปินส์เรียกว่า “ คาราบาว ” ชาวเขมรเรียกว่า “ กระบือ หรือ กระไบ ” และมีความเป็นไปได้ที่คำว่า กระบือในภาษาไทยน่าจะเลียนแบบมาจากคำภาษาเขมร แต่คำไทยแท้ที่เข้าใจกันและเรียกกันทั่วไปคือ “ ควาย ” คนไทยคุ้นเคยกับควายมานานพอๆกับรู้จักชาวนาและการทำนาปลูกข้าว เมืองไทยมีหลักฐานการเลี้ยงควายของชุมชนโบราณที่บ้านเชียงมาประมาณ 5,000 ปี

   กระบือหรือควาย ของบ้านเราที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือกระบือปลัก ( swamp buffalo ) ซึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “ Bubalus bubalis ” จัดเป็นกระบือที่เลี้ยงในกลุ่ม Asian buffalo หรือนิยมเรียกกันทั่วโลกว่า water buffalo เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในครอบครัว ( family ) เดียวกับโค แต่คนละกลุ่มกัน กล่าวคือโคจัดอยู่ในกลุ่ม Bovina ส่วนกระบือ Asia อยู่ในกลุ่ม Bubalina ในขณะที่กระบือป่าแอฟริกัน ( African buffalo ) อยู่ในกลุ่ม Syncerina ตามรูปข้างล่าง
 

การจัดกระบือเอเชียทางชีววิทยา (Biological Classification of Buffalo) (Kerr, 1792)
Kingdom : Animal (อยู่ในอาณาจักรสัตว์)
Phylum : Vertebrata (เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง)
Class : Mammalia (เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)
Subclass : Ungulata (เป็นสัตว์มีกีบ)
Order : Artiodactyla (เป็นสัตว์กีบคู่)
Suborder : Ruminantia (เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง)
Family : Bovidae (เป็นสัตว์เขาคู่)
Tribe : Bovini (เป็นสัตว์เผ่าโค-กระบือ)
Group : Bubalina (กระบือเอเชีย)
Genus : Bubalus  
Species : Bubalis  

กระบือบ้านเอเชีย (The Asian Domestic Buffalo or The Water Buffalo)
   เมื่อประมาณ 80 ปีมาแล้ว Macgregor ได้แบ่งกระบือพวกนี้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Swamp Type (กระบือปลัก) และ River Type (กระบือแม่น้ำ) กระบือปลัก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ใช้แรงงานในไร่นา มีการเลี้ยงกระจายอยู่เป็นวงกว้างตั้งแต่ประเทศจีนตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นไปถึงแม่น้ำ Yangtse แผ่ไปทางตะวันออกถึงเวียดนาม ลาว เขมร ไทย พม่า อัสสัม เนปาลตอนเหนือ และศรีลังกา ทางใต้แผ่ไปถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ กระบือปลักพวกนี้ได้ถูกนำไปเลี้ยงบ้างใน ออสเตรเลีย โอเชียเนีย บราซิล ตรินิแดด เซเนกัล ในอินเดียบางส่วนแถบรัฐมัธราฐ ส่วนกระบือแม่น้ำเป็นกระบือที่ได้รับการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ในประเทศอินเดียและปากีสถาน เพื่อเป็นกระบือนมซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ บางพันธุ์ให้นมสูงมาก จะพบได้ในอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ยุโรปตอนใต้ กระบือชนิดนี้เป็นกระบือนม ชอบน้ำสะอาด ไม่ชอบลงโคลน เช่น กระบืออียิปต์ กระบือคอเคเซียน และกระบือเมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น ข้อแตกต่างระหว่างกระบือ 2 ประเภทพอสรุปได้ดังนี้
เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างกระบือปลัก กับ กระบือแม่น้ำ

ลักษณะที่แตกต่าง กระบือปลัก กระบือแม่น้ำ
1. จำนวนโครโมโซม 2n = 48 2n = 50
2. รูปร่างภายนอก ล่ำสัน บึกบึน ลำตัวสั้น ท้องใหญ่ หน้าผากแบนราบ ตากลมเด่นชัด หน้าสั้น จมูกกว้าง คอค่อนข้างยาว หัวไหล่และอกนูนเด่น หลังกว้าง บั้นท้ายหัก หน้ายาว รอบอกเล็ก ขาใหญ่กว่า หลังยาวกว่า บั้นท้ายค่อยๆลาดลงไม่หักมาก
3. สี ผิวหนังสีเทาเมื่อเกิด แล้วค่อยๆกลายเป็นสีเทาดำเมื่อโตขึ้น มีบั้งคอสีขาว 2 บั้ง(chevron) มีจุดขาวที่แก้ม มีถุงเท้าขาวทั้ง 4 ขา และมีหนวดขาวที่ริมฝีปากบน ผิวหนังมีสีดำ น้ำตาลดำ ขนดำ น้ำตาลดำ
4. เขา เขางอกออกด้านข้าง และโค้งในลักษณะครึ่งวงกลม หรือวงพระจันทร์ อยู่ในแนวใกล้เคียงกับระดับแนวใบหน้า เขางอกลงด้านล่างและชี้ไปด้านหลัง แล้วโค้งขึ้นเป็นเกลียว
5. พฤติกรรม ชอบนอนแช่ในน้ำ และแช่ปลักโคลนมากกว่า ชอบแช่ในน้ำลึกมากกว่า
6. การใช้ประโยชน์ ใช้แรงงาน และให้เนื้อเป็นหลัก ให้นมเป็นหลัก มีใช้แรงงานบ้าง

Leave a Reply